วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)


                บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบ ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้น ฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives (อติญาณ์ ศรเกษตริน.  2543 :72-74 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2537 ; Bloom.  1976 : 18)


            พฤติกรรมพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

            พฤติกรรมพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หมายถึง การเรียนรู้ทางด้านความคิด ความรู้การแก้ปัญหา จัดเป็นพฤติกรรมทางด้านสมอง และสติปัญญา โดย Benjamin S. Bloom และคณะเป็นผู้คิดขึ้น แบ่ง ออกเป็น ระดับ ดังนี้


1. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการที่จะจดจำ (Memorization) และระลึกได้ (Recall) เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับไปแล้ว อันได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ที่เจาะจงหรือเป็นหลักทั่ว ๆ ไป วิธีการ กระบวนการต่าง ๆ โครงสร้าง สภาพของสิ่งต่าง ๆ และสามารถถ่ายทอดออกมาโดยการพูด เขียน หรือกิริยาท่าทาง แบ่งประเภทตามลำดับความซับซ้อนจากน้อยไปหามาก
                ตัวอย่างการสร้างข้อสอบวัดความรู้
                1.ซอฟต์แวร์นำเสนอ คือข้อใด
                                ก. Microsoft Excel
                                ข. Microsoft Access
                                ค. Microsoft Outlook
                               
ง. Microsoft PowerPoint

                2. ความเข้าใจ (Comprehension) สามารถให้ความหมาย แปล สรุป หรือเขียนเนื้อหาที่กำหนด
ใหม่ได้ โดยที่สาระหลักไม่เปลี่ยนแปลง
                ตัวอย่างการสร้างข้อสอบวัดความเข้าใจ
1.               CPU เปรียบเสมือนกับส่วนใดของร่างกายมนุษย์
        ก. สมอง
        ข. ตา
        ค. แขน
        ง. ขา
        3. การนำไปใช้ (Application) สามารถนำวัสดุ วิธีการ ทฤษฏี แนวคิด มาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่ได้เรียนรู้มา
                ตัวอย่างการสร้างข้อสอบวัดการนำไปใช้
1.               จงยกตัวอย่างอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำเข้าข้อมูลมาคนละ 2 อย่าง
        ตอบ เมาส์ และคีย์บอร์ด

        4. การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแยก จำแนก องค์ประกอบที่สลับซับซ้อนออกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยต่าง ๆ            
                ตัวอย่างการสร้างข้อสอบวัดการวิเคราะห์
1.               ข้อใดมีความสัมพันธ์กันมากกว่าข้ออื่น
        ก. ไมโครซอฟเพาเวอร์พอยด์ กับ งานนำเสนอ
        ข. ไมโครซอฟเวิร์ด กับ งานสื่อสิ่งพิมพ์
        ค. ไมโครซอฟเอกซ์เซล กับ งานเอกสาร
        ง. ไมโครซอฟแอคเซส กับ งานคำนวณ

        5. การสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการรวบรวม หรือนำองค์ประกอบหรือส่วนต่าง ๆ เข้ามารวมกัน เพื่อให้เป็นภาพพจน์โดยสมบูรณ์ เป็นกระบวนการพิจารณาแต่ละส่วนย่อย ๆ แล้วจัดรวมกันเป็นหมวดหมู่ ให้เกิดเรื่องใหม่หรือสิ่งใหม่ สามารถสร้างหลักการกฎเกณฑ์ขึ้นเพื่ออธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้
                          ตัวอย่างการสร้างข้อสอบวัดการสังเคราะห์
1.               เราจะใช้วิธีใดในการตรวจสอบขั้นต้นว่าฝนกำลังจะตก
ก.เมฆก่อตัวขึ้นเป็นสีดำทะมึน
ข.อากาศร้อนอบอ้าว
ค.ลมพัดมาอ่อนๆ
ง.แดดจ้า
        6. การประเมินค่า (Evaluation) สามารถตัดสิน ตีราคาคุณภาพของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์หรือมาตรฐานเป็นเครื่องตัดสิน เช่น การตัดสินกีฬา ตัดสินคดี หรือประเมินว่าสิ่งนั้นดี ไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ โดยประมวลมาจากความรู้ทั้งหมดที่มี
                          ตัวอย่างการสร้างข้อสอบการประเมินค่า
                       1.การรักการอ่านจำเป็นสำหรับเราหรือไม่
                                ก.จำเป็น เพราะการอ่านจะช่วยให้เรามีสมาธิมากขึ้น
                                ข.จำเป็น เพราะการอ่านจะช่วยให้เราอ่านได้เร็วและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
                                ค.ไม่จำเป็น เพราะการอ่านไม่สำคัญ
                                ง.ไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เสียเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น